...แฟ้มสะสมงานในรายวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
Miss Chalanda Khamjun Student ID 5411203044 Junior Field of Early Childhood Education Faculty of Education Chandrakasem Rajabhat University.

หมายเหตุ

สอบปลายภาค ปีการศึกษา 2/2556

...สอบนอกตาราง
แนวข้อสอบ >>> ข้อสอบแบบอัตนัย จำนวน 3 ข้อ เต็ม 15 คะแนน


บันทึกกิจกรรมการเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 15

วันที่ 13 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

1. สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายของการเรียนการสอนในรายวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ ประจำภาคเรียน 2/2556
2. อาจารย์บรรยายเนื้อหาในหัวข้อ เด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้หรือเด็ก L.D.” ซึ่งสรุปได้ดังนี้
ภาพ : เด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้

3. อาจารย์ให้นักศึกษาดูคลิปวิดีโอเรื่องศูนย์การศึกษาพิเศษมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
ภาพ : การช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ


สะท้อนสิ่งที่ได้รับจากการเรียน
             ในเด็กบางคนที่เป็น LD อาการจะหายไปได้เมื่อโตขึ้น เชื่อว่าสาเหตุมาจากสมองกลุ่มนี้พัฒนาช้า แต่ในที่สุดก็สามารถพัฒนาไปได้ แต่ในเด็กส่วนใหญ่อาการยังคงอยู่ หากไม่ทำการช่วยเหลือแล้ว การเรียนรู้ที่สับสนและลำบากมักนำไปสู่การล้มเหลวในการเรียนและปัญหาทางอารมณ์ การที่เด็กเรียนรู้แบบปกติไม่ได้ ทั้งๆที่สติปัญญาดีนั้นมักทำให้เด็กมีความหงุดหงิดใจ รู้สึกตัวเองโง่เด็กมักถูกเพื่อนๆล้อ ถูกผู้ใหญ่ตำหนิว่าไม่พยายาม เด็กจะมีปฏิกิริยาต่อประสบการณ์ดังกล่าวในหลายลักษณะ เช่น อาจมีอาการวิตกกังวล ซึมเศร้า หรือไม่ก็มีพฤติกรรมก้าวร้าว ซึ่งก็ทำให้ปัญหาการเรียนที่มีอยู่นั้นแย่ลงไปอีก

บันทึกกิจกรรมการเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 14

วันที่ 6 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

หมายเหตุ ไม่มีการเรียนการสอน
เนื่องจากอาจารย์พานักศึกษาชั้นปีที่ 4 ออกค่ายในโครงการจิตอาสา
ที่โรงเรียนบ้านถ้ำผึ้ง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

*ค้นคว้าเพิ่มเติม*
เด็กพิเศษดูแลด้วยความรัก พัฒนาด้วยความเข้าใจ
นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น

            แนวทางการดูแลเด็กพิเศษ ไม่ว่าจะไปในทิศทางใดก็ตาม ถ้าเริ่มต้นจากการดูแลด้วยความรัก แล้วค่อยๆ พัฒนาด้วยความเข้าใจ ก็จะไปสู่จุดหมายปลายทางของการทำให้เด็กมีการพัฒนาเต็มตามศักยภาพที่มีอยู่ได้ไม่ยาก
    การดูแลด้วยความรัก ก็คือสิ่งที่พ่อแม่ทุกคนมีอยู่เต็มเปี่ยมอยู่แล้ว แต่ที่นำมาเน้นย้ำ เนื่องจากในความรักที่มีอยู่นี้ มักจะถูกบดบังด้วยความเครียด ความวิตกกังวล ความเบื่อหน่าย ความท้อแท้ และความรู้สึกอื่นๆ อีกมากมายในบางช่วงเวลา ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่จะเกิดความรู้สึกต่างๆ ขึ้นมาได้ในการดูแล แต่จำเป็นต้องหาวิธีจัดการความรู้สึกต่างๆ อย่างเหมาะสมต่อไป
     การพัฒนาด้วยความเข้าใจ ก็เป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากขึ้นชื่อว่าเด็กพิเศษแล้วต้องมีกระบวนการพัฒนาที่พิเศษ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจ หลักเบื้องต้นง่ายๆ ในการพัฒนา คือ เด็กเป็นตัวตั้ง ครอบครัวเป็นตัวหาร ผู้เชี่ยวชาญเป็นตัวช่วย
     “เด็กเป็นตัวตั้ง กล่าวคือ ไม่มีสูตรสำเร็จรูปสำหรับการดูแลเด็กพิเศษทุกคน ทุกกลุ่ม ทุกอายุ ควรเข้าใจธรรมชาติที่ว่า เด็กแต่ละคนมีความเหมือนกันและมีความแตกต่างกัน เด็กอาจมีความบกพร่องในบางด้าน แต่ในขณะเดียวกันก็มีความสามารถในบางด้านเช่นกัน
      “ครอบครัวเป็นตัวหาร กล่าวคือ ครอบครัวมีบทบาทสำคัญที่สุดในการดูแลเด็กพิเศษ และคงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า ถ้าครอบครัวไม่ดูแล แล้วจะมีใครดูแลได้ดีกว่าอีกเล่า
     “ผู้เชี่ยวชาญเป็นตัวช่วย ณ วันนี้ ความก้าวหน้าทางวิชาการมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ข้อมูลใหม่ๆ มีเพิ่มเติมตลอดเวลา เป็นไปไม่ได้ที่คนเดียวจะรู้ทุกอย่าง มีทักษะทุกด้าน ตัวช่วยจึงมีความจำเป็น ทีมงานผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย จิตแพทย์เด็ก พยาบาล นักจิตวิทยา นักแก้ไขการพูด นักกิจกรรมบำบัด นักกายภาพบำบัด ครูการศึกษาพิเศษ หรือวิชาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นตัวช่วยที่สามารถให้คำแนะนำ คำปรึกษา และสาธิตเทคนิควิธีต่างๆ ให้นำไปฝึกปฏิบัติต่อไปได้
      จุดหมายปลายทางเป็นสิ่งที่ทุกคนคาดหวัง แต่ระหว่างทางที่ไปสู่จุดหมายนั้น มีสิ่งสวยงามให้ชื่นชมมากมาย พัฒนาการของเด็กพิเศษแต่ละขั้น ก็คือสิ่งสวยงามที่น่าชื่นชม การชื่นชมสิ่งสวยงามที่เกิดขึ้น ณ วันนี้ คือ กำลังใจที่ดีที่สุด

บันทึกกิจกรรมการเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 13

วันที่ 30 เดือนมกราคม พ.ศ. 2557

1. อาจารย์บรรยายเนื้อหาในหัวข้อ "การดูแลรักษาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ" ซึ่งสรุปได้ดังนี้
ภาพ : การบรรยายเนื้อหา

ภาพ : การดูแลรักษาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

2. อาจารย์ให้นักศึกษาดูคลิปวิดีโอเรื่องกิจกรรมบำบัดสำหรับเด็กพิเศษของราชานุกูล
ภาพ : กิจกรรมบำบัดสำหรับเด็กพิเศษของราชานุกูล

สะท้อนสิ่งที่ได้รับจากการเรียน
            คนที่เป็นพ่อ แม่ ผู้ปกครองเด็กพิเศษต้องมีความเข้าใจว่า ลูกตัวเองต้องสามารถพัฒนาได้ เรารักลูกของเรา ไม่ว่าเขาจะเป็นอย่างไร ถ้าเราไม่รัก แล้วใครจะรัก หยุดไม่ได้ ดูแลจิตใจและร่างกายของตนเองให้เข้มแข็ง เพราะแม่ ผู้ปกครองเด็กพิเศษต้องเหนื่อยกว่าคนอื่นถึงสองเท่า ทั้งเหนื่อยทางร่างกาย และเหนื่อยทางจิตใจ นอกจากนี้ ไม่กล่าวโทษตนเองหรือคู่สมรส แต่ควรหันหน้าปรึกษากันในครอบครัว