...แฟ้มสะสมงานในรายวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
Miss Chalanda Khamjun Student ID 5411203044 Junior Field of Early Childhood Education Faculty of Education Chandrakasem Rajabhat University.

บันทึกกิจกรรมการเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 13

วันที่ 30 เดือนมกราคม พ.ศ. 2557

1. อาจารย์บรรยายเนื้อหาในหัวข้อ "การดูแลรักษาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ" ซึ่งสรุปได้ดังนี้
ภาพ : การบรรยายเนื้อหา

ภาพ : การดูแลรักษาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

2. อาจารย์ให้นักศึกษาดูคลิปวิดีโอเรื่องกิจกรรมบำบัดสำหรับเด็กพิเศษของราชานุกูล
ภาพ : กิจกรรมบำบัดสำหรับเด็กพิเศษของราชานุกูล

สะท้อนสิ่งที่ได้รับจากการเรียน
            คนที่เป็นพ่อ แม่ ผู้ปกครองเด็กพิเศษต้องมีความเข้าใจว่า ลูกตัวเองต้องสามารถพัฒนาได้ เรารักลูกของเรา ไม่ว่าเขาจะเป็นอย่างไร ถ้าเราไม่รัก แล้วใครจะรัก หยุดไม่ได้ ดูแลจิตใจและร่างกายของตนเองให้เข้มแข็ง เพราะแม่ ผู้ปกครองเด็กพิเศษต้องเหนื่อยกว่าคนอื่นถึงสองเท่า ทั้งเหนื่อยทางร่างกาย และเหนื่อยทางจิตใจ นอกจากนี้ ไม่กล่าวโทษตนเองหรือคู่สมรส แต่ควรหันหน้าปรึกษากันในครอบครัว

บันทึกกิจกรรมการเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 12

วันที่ 23 เดือนมกราคม พ.ศ. 2557

1. นักศึกษาออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนต่อจากสัปดาห์ที่ 11 ดังนี้
ภาพ : กลุ่มที่ 5 เรื่องเด็กออทิสติก

ความหมายของเด็กออทิสติก
           เด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น โรคนี้เป็นความผิดปกติในสมองซึ่งมีอาการแสดงและความผิดปกติได้หลายรูปแบบ เด็กจะไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น การพัฒนาด้านภาษาและสติปัญญาก็ไม่สมบูรณ์ ทำให้เด็กไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคมได้
            อาการของเด็กบางคนจะแสดงออกตั้งแต่เกิด แต่ส่วนใหญ่จะแสดงออกเมื่อเด็กอายุ 18-36 เดือน เด็กจะไม่สนใจคนอื่น มีพฤติกรรมแปลกๆ สูญเสียความสามารถทางภาษาและทักษะ ผู้ปกครอง คุณครู รวมทั้งผู้ร่วมงานก็มีปัญหากับเด็กที่ไม่สนใจอย่างอื่นนอกจากพฤติกรรมที่ทำซ้ำซาก
Autism คืออะไร
            โรค Autism เป็นความผิดปกติในสมอง เด็กที่เป็นจะมีปัญหาเรื่องการสื่อสาร ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างและสิ่งแวดล้อม เด็กบางคนสามารถสื่อสารกับผู้อื่นและก็มีความฉลาด แต่เด็กบางคนเป็นเด็กปัญญาอ่อน ไม่พูด เด็กบางคนก็มีพฤติกรมทำซ้ำซาก จะเห็นว่าเด็กแต่ละคนมีอาการไม่เหมือนกัน ความรุนแรงไม่เท่ากัน แต่จะมีปัญหาทางสังคม การสื่อสาร พฤติกรรม กล้ามเนื้อและความรู้สึก

ภาพ : ลักษณะของเด็กออทิสติก

2. อาจารย์ให้นักศึกษาสอบกลางภาค ปีการศึกษา 2556
            - ข้อสอบแบบตัวเลือก 40 ข้อ
            - 15 คะแนน

สะท้อนสิ่งที่ได้รับจากการเรียน
         แม้ว่ากลุ่มโรคออทิสติก เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นตลอดชีวิต แต่เด็กอาจจะโตเป็นผู้ใหญ่อยู่ในกลุ่ม 1 ใน 3 ที่สามารถดูแลช่วยเหลือตนเองได้ และมีโอกาสที่จะอยู่ในกลุ่ม 1 - 2% ของผู้ป่วยโรคนี้ที่สามารถดำรงชีวิตได้เหมือนคนปกติ แต่จะต้องมีปัจจัยหลายอย่าง เช่น เด็กมีระดับไอคิวมากกว่า 70 หรือไม่มีภาวะปัญญาอ่อนร่วม เด็กสามารถพูดสื่อสารได้ก่อนอายุ 5 ปี และไม่มีความผิดปกติอื่นๆร่วมด้วย เช่น อาการชัก เป็นต้น ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าเด็กได้รับการวินิจฉัยและการรักษาตั้งแต่อายุยังน้อย ได้รับความเอาใจใส่จากพ่อแม่และครอบครัวก็จะทำให้เด็กมีโอกาสพัฒนาได้มากกว่าการรักษาเมื่ออายุมากขึ้น

บันทึกกิจกรรมการเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 11

วันที่ 16 เดือนมกราคม พ.ศ. 2557

หมายเหตุ ไม่มีการเรียนการสอน
เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองไม่สงบและนักศึกษาไม่สะดวกในการเดินทาง จึงไม่สามารถมีการเรียนการสอนได้ตามปกติ

1. อาจารย์สั่งงานให้นักศึกษาเตรียมสรุปงานวิจัยที่ตนเองได้หามาใส่กระดาษA4 หรือกระดาษรายงานซึ่งเขียนหรือพิมพ์ก็ได้ ตามหัวข้อต่อไปนี้     (ส่งภายในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557)
- ชื่องานวิจัย/ชื่อผู้วิจัย/มหาวิทยาลัย
- ความสำคัญและความเป็นมาของงานวิจัย
- วัตถุประสงค์ของการวิจัย
- ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
- นิยามศัพท์เฉพาะ
- ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
- เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
- การดำเนินการวิจัย
- สรุปผลการวิจัย
- ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่องานวิจัยชิ้นนี้
2. ถ้ามีเวลาเหลืออาจารย์จะนัดสอบกลางภาคในชั่วโมงเรียนของสัปดาห์ที่ 12 (วันที่ 23/01/57)

งานวิจัยที่ฉันเลือก คือ
การศึกษาพฤติกรรมซ้ำๆ ของนักเรียนออทิสติกอายุ 7-10 ปี ในโรงเรียนศึกษาพิเศษ จากการใช้โปรแกรมปรับพฤติกรรมกิจกรรมการเคลื่อนไหว
ปริญญานิพนธ์ ของ พุฑฒิพงษ์ เพชรรัตน์

สะท้อนสิ่งที่ได้รับจากการเรียน

            วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพทางการศึกษาการทำวิจัยจึงมีความสำคัญมากต่อนักศึกษาครู วิจัยเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาทางการศึกษาที่อาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่ทำงานเป็นระเบียบ ขั้นตอน ดังงานชิ้นนี้ที่อาจารย์ให้สรุปวิจัยเป็นการศึกษาวิจัยอย่างคร่าวๆ ของดิฉัน ซึ่งเป็นการทำความคุ้นเคยก่อนที่จะได้เขียนวิจัยฉบับจริงก็ว่าได้ นอกจากนี้ยังได้รับความรู้ในเรื่องขององค์ประกอบ กระบวนการ และวิธีการในการเขียนวิจัยอีกด้วย