...แฟ้มสะสมงานในรายวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
Miss Chalanda Khamjun Student ID 5411203044 Junior Field of Early Childhood Education Faculty of Education Chandrakasem Rajabhat University.

บันทึกกิจกรรมการเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 10

วันที่ 9 เดือนมกราคม พ.ศ. 2557

1. นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน ดังนี้

ภาพ : กลุ่มที่ 1 เรื่องภาวะการเรียนบกพร่อง

ภาพ : กลุ่มที่ 2 เรื่องเด็กพิการทางสมอง

ภาพ : กลุ่มที่ 3 เรื่องเด็กสมาธิสั้น

ภาพ : กลุ่มที่ 4 เรื่องดาวน์ซินโดม

- อาจารย์ให้นักศึกษาทำแบบประเมินของกลุ่มที่ได้ออกไปนำเสนอ มีทั้งหมด 5 กลุ่ม โดยปราศจากการให้คะแนนด้วยอคติต่อเพื่อน 
ภาพ : แบบประเมินการนำเสนอของนักศึกษา

2. อาจารย์บรรยายเนื้อหาต่อจากสัปดาห์ก่อน การประเมินพัฒนาการ” สรุปได้ดังนี้
การประเมินพัฒนาการ
            การประเมินพัฒนาการนั้นมีความสำคัญมาก เนื่องจากการที่เราสามารถบอกได้ว่าเด็กคนไหนมีความบกพร่องทางพัฒนาการได้เร็วเท่าไรและรีบให้การวินิจฉัยและให้การรักษาและกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสม ย่อมจะส่งผลดีต่อเด็กและครอบครัวในระยะยาว 
Mind Mapping : การประเมินพัฒนาการ
คำแนะนำ
           1. เมื่อพบว่าเด็กมีพัฒนาการช้าเพียงเล็กน้อย หากไม่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ภาวะเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวน้อย มีปัญหาสุขภาพทางกาย อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการพัฒนา เป็นต้น ประกอบกับผู้เลี้ยงดูไม่มีความกังวลหรือปฏิเสธการตรวจวินิจฉัย อาจให้คำแนะนำในการส่งเสริมพัฒนาการเบื้องต้นและนัดตรวจซ้ำในเวลาไม่นานนัก
          2. หากเด็กมีปัญหาทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ควรได้รับการดูแลโดยนักกายภาพบำบัดเพื่อป้องกันการลีบและหดเกร็งของกล้ามเนื้อ หากมีปัญหาเกี่ยวกับการพูดควรได้รับการดูแลโดยนักแก้ไขการพูดร่วมด้วย หากมีปัญหาทางการเรียนรู้และพฤติกรรมควรได้รับการดูแลแก้ไขโดยนักกิจกรรมบำบัดและนักจิตวิทยาร่วมด้วย
          3. การสังเกตพัฒนาการของเด็กมีความสำคัญ กล่าวคือเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ หากได้รับการส่งเสริมพัฒนาการเร็วเท่าใดก็จะเป็นประโยชน์ต่อเด็กมากเท่านั้น

อ้างอิงจาก เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ

สะท้อนสิ่งที่ได้รับจากการเรียน           
           เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการจะมีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน การสังเกตพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก การประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะๆ โดยเฉพาะในเด็กกลุ่มเสี่ยงตามสาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการจะช่วยให้ค้นหาเด็กเหล่านี้ได้เร็วขึ้น สามารถให้การช่วยเหลือได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก เพื่อช่วยให้เด็กมีพัฒนาการดีขึ้นตามศักยภาพ

 หมายเหตุ สัปดาห์ที่ 11 (วันที่ 16/01/57) อาจารย์นัดสอบกลางภาค

บันทึกกิจกรรมการเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 9

วันที่ 2 เดือนมกราคม พ.ศ. 2557

หมายเหตุ ไม่มีการเรียนการสอน
 เนื่องจากตรงกับช่วงเทศกาลปีใหม่
2b 0b 1b 4b

บันทึกกิจกรรมการเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 8

วันที่ 26 เดือนธันวามคม พ.ศ. 2556

หมายเหตุ ไม่มีการเรียนการสอน
 เนื่องจากตรงกับการแข่งขันกีฬาบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ประจำปี 2556
ในวันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม 2556
ณ สนามกีฬามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

บันทึกกิจกรรมการเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 7

วันที่ 19 เดือนธันวามคม พ.ศ. 2556

หมายเหตุ ไม่มีการเรียนการสอน
 เนื่องจากตรงกับวันสอบกลางภาคของมหาวิทยาลัย

บันทึกกิจกรรมการเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 6

วันที่ 12 เดือนธันวามคม พ.ศ. 2556

1. อาจารย์บรรยายเนื้อหา  “พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ”  สรุปได้ดังนี้
Mind Mapping : พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ    
พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ    
            พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆ รวมทั้งตัวบุคคล ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำสิ่งที่ยากสลับซับซ้อนมากขึ้น
เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ 
                หมายถึง เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน โดยความล่าช้านั้นปรากฏให้เห็นตั้งแต่วัยทารกและวัยเด็กตอนต้น พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หลายด้านหรือทุกด้าน (global developmental delay) และพัฒนาการล่าช้าในด้านหนึ่งอาจส่งผลให้พัฒนาการในด้านอื่นล่าช้าด้วยก็ได้
ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
            ปัจจัยทางด้านชีวภาพ เกี่ยวข้องกับลักษณะทางพันธุกรรมหรือชุดหน่วยของยีนที่เด็กได้รับสืบทอดมาจากบิดามารดา
            ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด การติดเชื้อ สารพิษ สภาวะทางโภชนาการและการเจ็บป่วยของมารดาส่งผลต่อพัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์
            ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด การเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะคลอด เช่น ภาวะขาดออกซิเจนในขณะคลอด            
            ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด สภาวะหลังคลอด ปัจจัยด้านระบบประสาท และสภาพแวดล้อมส่งผลร่วมกันต่อพัฒนาการของเด็ก เด็กที่ไม่มีบิดามารดา หรือเด็กที่ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่  อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่แออัด ยากจน เด็กถูกทอดทิ้ง-ล่วงละเมิด ปัจจัยด้านการศึกษา  เชาวน์ปัญญา และความสามารถของมารดา ในการจัดสภาพการเรียนรู้ของเด็ก
สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
            โรคพันธุกรรม เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้ามาตั้งแต่เกิดหรือสังเกตได้ชั่วระยะไม่นานหลังเกิด  มักมีลักษณะผิดปกติแต่กำเนิดร่วมด้วย
            โรคของระบบประสาท เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการส่วนใหญ่มักมีอาการหรืออาการแสดงทางระบบประสาทร่วมด้วย  ที่พบบ่อยคืออาการชัก
            การติดเชื้อ โรคในกลุ่มนี้ที่สำคัญคือการติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เด็กมักมีน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย ศีรษะเล็กกว่าปกติ อาจมีตับม้ามโต การได้ยินบกพร่อง และต้อกระจกร่วมด้วย นอกจากนี้การติดเชื้อรุนแรงภายหลังเกิด เช่น สมองอักเสบ เยื้อหุ้มสมองอักเสบ 
            ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม โรคที่ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขไทย คือ ไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ
            ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด การเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย และภาวะขาดออกซิเจน          
            สารเคมี  ตะกั่วเป็นสารที่มีผลกระทบต่อเด็กและมีการศึกษามากที่สุด กล่าวคือ เมื่อเด็กมีระดับตะกั่วในเลือดสูงสะสมเป็นเวลานาน จะทำให้มีระดับสติปัญญาต่ำกว่าคนทั่วไป  สารเคมีอีกชนิดหนึ่งที่มีผลทำให้พัฒนาการของทารกในครรภ์ล่าช้าคือ แอลกอฮอล์
            การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร ปัจจัยข้อนี้แม้จะมีผลกระทบต่อพัฒนาการตามวัยของเด็กแต่มักไม่รุนแรง 
อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
            มีพัฒนาการล่าช้าซึ่งอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน นอกจากนี้อาจพบความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อร่วมด้วย เช่น  ปฏิกิริยาสะท้อน (primitive reflex) ยังคงอยู่ไม่หายไปแม้จะถึงช่วงอายุที่ควรจะหายไป กล้ามเนื้ออ่อนนิ่มหรือเกร็ง อาจพบความผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย
แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. การซักประวัติ
2. การตรวจร่างกาย  
3. การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
4. การประเมินพัฒนาการ โดยทั่วไปการประเมินพัฒนาการแบ่งได้เป็น
            4.1 การประเมินแบบไม่เป็นทางการ เป็นการประเมินโดยใช้การสอบถามจากผู้ปกครอง
            4.2 การประเมินที่ใช้ในเวชปฏิบัติ โดยใช้แบบประเมินพัฒนาการที่มีใช้ในปัจจุบัน ดังนี้
                        4.2.1 แบบทดสอบ Denver II
                        4.2.2 The Goodenough-Harris Drawing Test                    
                        4.2.3 Gesell Drawing Test 
                        4.2.4 แบบทดสอบ Capute Scales (CAT/CLAMS)
                        4.2.5 แบบทดสอบ Bayley Scales of Infant and Toddler Development                   
                        4.2.6 แบบประเมินพัฒนาการเด็กตามคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุแรกเกิด - 5 ปี 

อ้างอิงจาก : เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ

2. อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มเตรียมนำเสนอลักษณะอาการของเด็กพิเศษตามที่กลุ่มของตนได้รับมอบหมาย (กลุ่มของดิฉัน เด็กซี.พี.) แล้วนำเสนอในสัปดาห์ที่ 10 วันที่ 9 เดือนมกราคม พ.ศ. 2557

สะท้อนสิ่งที่ได้รับจากการเรียน
          เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการจะมีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน การสังเกตพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก การประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะๆ โดยเฉพาะในเด็กกลุ่มเสี่ยงตามสาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการจะช่วยให้ค้นหาเด็กเหล่านี้ได้เร็วขึ้น สามารถให้การช่วยเหลือได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก เพื่อช่วยให้เด็กมีพัฒนาการดีขึ้นตามศักยภาพ

บันทึกกิจกรรมการเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 5

วันที่ 5 เดือนธันวามคม พ.ศ. 2556

หมายเหตุ ไม่มีการเรียนการสอน
เนื่องจากตรงกับวันพ่อแห่งชาติหรือวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี 

บันทึกกิจกรรมการเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 4

วันที่ 28 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556

1. อาจารย์บรรยายเนื้อหา  เด็กที่มีความต้องการพิเศษ”  ต่อจากสัปดาห์ที่ 3 สรุปได้ดังนี้
Mind Mapping : เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behaviorally and Emotional Disorders) หมายถึง ผู้ที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกติเช่นคนปกตินาน ๆ ไม่ได้หรือผู้ที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้ ซึ่งพฤติกรรมที่แสดงออกมานั้นไม่เป็นที่ยอมรับและพอใจของมาตรฐานความประพฤติปฏิบัติของสังคม 
Mind Mapping : ลักษณะเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์


Mind Mapping : เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้หรือเรียกย่อๆ ว่า L.D. (Learning Disability) หมายถึง ผู้ที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง โดยมีความบกพร่องหรือปัญหาหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งอย่าง ในกระบวนการทางจิตวิทยาทำให้เด็กเหล่านี้มีปัญหาทางการใช้ภาษาหรือการพูด การเขียน โดยจะแสดงออกมาในลักษณะของการนำไปปฏิบัติ
Mind Mapping : เด็กออทิสติก
เด็กออทิสติก (Autistic) บางครั้งเรียกว่า ออทิซึ่ม (Autism) หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องอย่างรุนแรงในการสื่อความหมาย พฤติกรรม สังคม และความสามารถทางสติปัญญาในการรับรู้ อาการต่าง ๆ จะมีการเปลี่ยนแปลงไม่แน่นอนเป็นระยะ ๆ ไป เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง และย่อมแตกต่างไปจากเด็กคนอื่น ๆ ซึ่งเป็นเด็กออทิสติกเหมือนกัน ทั้งนี้เป็นเพราะอาการที่เป็นมีความรุนแรงมากน้อยต่างกันไป ประกอบกับเด็กแต่ละคนมีบุคลิกภาพของตัวเองอยู่ด้วย อาการออทิสติกนั้นจะคงอยู่ติดตัวเด็กไปจนเป็นผู้ใหญ่จนตลอดทั้งชีวิต ไม่สามารถรักษาให้หายได้
Mind Mapping : ลักษณะเด็กออทิสติก
เด็กพิการซ้อน (Children with Multiple Handicaps) หมายถึง ผู้ที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก เช่น ปัญญาอ่อนตาบอด ปัญญาอ่อน-ร่างกายพิการ หูหนวก-ตาบอด ฯลฯ 
Mind Mapping : ลักษณะเด็กพิการซ้อน

2. อาจารย์ให้นักศึกษาดูวิดีโอห้องเรียนแรกของเด็กพิเศษ แล้วสรุปใจความสำคัญของเนื้อหาเป็น Mind Mapping งานชิ้นนี้ 10 คะแนน

การประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม
1. การดูแลเด็กพิเศษ เมื่อรับเด็กมาแล้ว ครูต้องมีการประเมินว่าเด็กมีพื้นฐานและพัฒนาการเป็นอย่างไร
2. จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะพื้นฐาน 6 ประการ ให้เด็กพิเศษตามลำดับขั้น คือ พัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก ภาษา สังคม    การช่วยเหลือตนเอง เตรียมวิชาการ
3. ครูทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลเพื่อวางแผนการเรียนรู้
4. การจัดกิจกรรมต้องมีการประเมินผล โดยการสังเกตของครู
ข้อพึงระวังในการนำไปใช้
1. การจัดกิจกรรมต้องมีความยืดหยุ่นระหว่างครูกับผู้ปกครอง
2. ผู้ปกครองมีสิทธิ์ที่จะเลือกไม่ให้นักเรียนทำกิจกรรมที่ผู้ปกครองเห็นว่าไม่เหมาะสม
3. ในการทำกิจกรรมของเด็กพิเศษ ถ้าผู้ใหญ่คิดให้เด็กจะหมดโอกาสคิด

สะท้อนสิ่งที่ได้รับจากการเรียน
            สังคมไม่ควรมองว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษเป็นปัญหาสำหรับสังคม เพราะเด็กเหล่านนี้ไม่ได้ไปทำร้ายคนอื่นหรือสร้างความวุ่นวายให้แก่สังคม เพียงแต่เด็กเหล่านี้ต้องความความช่วยเหลือจากสังคม ถ้าทุกฝ่ายให้ความดูแลเอาใจใส่เหมือนเด็กปกติทั่วไป ดิฉันเชื่อว่าเด็กเหล่านี้จะมีพัฒนาการที่ก้าวหน้าเทียบเท่ากับเด็กปกติก็ได้ แต่สิ่งที่สำคัญในการพัฒนาเด็กเหล่านี้คือ ครอบครัว ที่มีความอบอุ่นและต้องดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี

บันทึกกิจกรรมการเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 3

วันที่ 21 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556

1. อาจารย์บรรยายเนื้อหา  เด็กที่มีความต้องการพิเศษ”  ต่อจากสัปดาห์ที่ 2 สรุปได้ดังนี้
Mind Mapping : เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ (Children with Physical and Health Impairments) หมายถึง ผู้ที่มีอวัยวะไม่สมส่วน อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนหายไป กระดูกกล้ามเนื้อพิการ เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรงหรือเฉียบพลัน มีความพิการทางระบบประสาทสมอง มีความลำบากในการเคลื่อนไหวจนเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาเล่าเรียนและการทำกิจกรรมของเด็ก จำแนกได้ดังนี้
1. อาการบกพร่องทางร่างกาย ที่มักพบบ่อย ได้แก่
            1.1 ซีพีหรือซีรีบรัล พัลซี่ (C.P. : Cerebral Palsy) มีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่าง ๆ ของสมองแตกต่างกัน ที่พบส่วนใหญ่ คือ
                        1.1.1 อัมพาตเกร็งของแขนขาหรือครึ่งซีก (Spastic)
                        1.1.2 อัมพาตของลีลาการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Athetoid)  
                        1.1.3 อัมพาตสูญเสียการทรงตัว (Ataxia)
                        1.1.4 อัมพาตตึงแข็ง (Rigid)
                        1.1.5 อัมพาตแบบผสม (Mixed)
            1.2 กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy) เกิดจากประสาทสมองที่ควบคุมส่วนของกล้ามเนื้อส่วนนั้น ๆ เสื่อมสลายตัว 
            1.3 โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic) ที่พบบ่อย ได้แก่
                        1.3.1 ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก (Club Foot) กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด (Spina Bifida)
                         1.3.2 ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ (Infection) เช่น วัณโรค กระดูก หลังโกง กระดูกผุ เป็นแผลเรื้อรังมีหนอง
                         1.3.3 กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ มีความพิการเนื่องจากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง หรือทันท่วงทีภายหลังได้รับบาดเจ็บ
            1.4 โปลิโอ (Poliomyelitis) เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งเข้าสู่ร่างกายทางปาก แล้วไปเจริญที่ต่อมน้ำเหลืองในลำคอ ลำไส้เล็ก และเข้าสู่กระแสเลือดจนถึงระบบประสาทส่วนกลาง 
            1.5 แขนขาด้วนแต่กำเนิด (Limb Deficiency)
            1.6 โรคกระดูกอ่อน (Osteogenesis Imperfeta)
 2. ความบกพร่องทางสุขภาพ ที่มักพบบ่อย ได้แก่
            2.1 โรคลมชัก (Epilepsy) เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมอง ที่พบบ่อยมีดังนี้ คือ
                        2.1.1 ลมบ้าหมู (Grand Mal)  
                        2.1.2 การชักในช่วงเวลาสั้น ๆ (Petit Mal) ระยะเวลาสั้น ๆ 5-10 วินาที
                        2.1.3 การชักแบบรุนแรง (Grand Mal) เกิดขึ้นราว 2-5 นาทีจากนั้นจะหาย และนอนหลับไปชั่วครู่
                        2.1.4 อาการชักแบบพาร์ชัล คอมเพล็กซ์ (Partial Complex)
                        2.1.5 อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial) ทำอะไรบางอย่างโดยที่ตัวเองไม่รู้  
            2.2 โรคระบบทางเดินหายใจโดยมีอาการเรื้อรังของโรคปอด (Asthma) เช่น หอบหืด วัณโรค ปอดบวม ซึ่งมีทั้งที่มีอาการรุนแรงหรือที่เป็นระยะยาวจนเกิดโรคแทรกซ้อน ปอดแฟบ 
            2.3 โรคเบาหวานในเด็ก ร่างกายไม่สามารถใช้กลูโคสได้อย่างปกติ เพราะขาดอินซูลิน
            2.4 โรคข้ออักเสบรูมาตอย มีอาการปวดตามข้อเข่า ข้อเท้า ข้อศอก ข้อนิ้วมือ
            2.5 โรคศีรษะโต เนื่องจากน้ำคั่งในสมอง
            2.6 โรคหัวใจ (Cardiac Conditions)
            2.7 โรคมะเร็ง (Cancer)
            2.8 บาดเจ็บแล้วเลือดไหลไม่หยุด (Hemophilia)
Mind Mapping : ลักษณะเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ

Mind Mapping เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา (Children with Speech and Language Disorders) หมายถึง ผู้ที่พูดไม่ชัด และลีลาจังหวะการพูดผิดปกติ ออกเสียงผิดเพี้ยน อวัยวะที่ใช้ในการพูดไม่สามารถเป็นไปตามลำดับขั้นการใช้อวัยวะเพื่อการพูดไม่เป็นไปดังตั้งใจ จำแนกได้ดังนี้ คือ
1. ความผิดปกติด้านการออกเสียง
            1.1 ออกเสียงผิดเพี้ยนไปจากมาตรฐานของภาษาเดิม
            1.2 เพิ่มหน่วยเสียงเข้าในคำโดยไม่จำเป็น
            1.3 เอาเสียงหนึ่งมาแทนอีกเสียงหนึ่ง เช่น กวาด-ฟาด
2. ความผิดปกติด้านจังหวะเวลาของการพูด เช่น การพูดรัว การพูดติดอ่าง
3. ความผิดปกติด้านเสียง
            3.1 ระดับเสียง เช่น การพูดเสียงสูงเกินไป ต่ำเกินไปหรือพูดระดับเสียงเดียวกันหมด
            3.2 ความดัง เช่น พูดเสียงดังมาก หรือเบามากจนเกินไป
            3.3 คุณภาพของเสียง เช่น พูดเสียงแตกพร่า เสียงแหบ เสียงหอบ เสียงขึ้นจมูก เสียแปร่ง 
4. ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่า Dysphasia หรือ aphasia ที่ควรรู้จัก ได้แก่
            4.1 Motor aphasia (Expressive หรือ Broca’s apasia) หมายถึง ผู้ที่เข้าใจคำถามหรือคำสั่ง แต่พูดไม่ได้ ออกเสียงลำบาก พูดช้า ๆ พอพูดตามได้บ้างเล็กน้อย บอกชื่อสิ่งของพอได้ แต่พูดไม่ถูกไวยากรณ์
            4.2 Wernicke’s aphasia (Sensory หรือ Receptive aphasia) หมายถึง ผู้ที่ไม่เข้าใจคำถามหรือคำสั่ง ได้ยินแต่ไม่เข้าใจความหมาย 
            4.3 Conduction aphasia หมายถึง ผู้ที่ออกเสียงได้ไม่ติดขัด เข้าใจคำถามดี แต่พูดตามหรือบอกชื่อสิ่งของไม่ได้ มักเกิดร่วมไปกับอัมพาตของร่างกายซีกขวา
            4.4 Nominal aphasia (Anomic aphasia) หมายถึง ผู้ที่ออกเสียงได้ เข้าใจคำถามดี พูดตามได้ แต่บอกชื่อวัตถุไม่ได้เพราะลืมชื่อ บางทีก็ไม่เข้าใจความหมายของคำมักเกิดร่วมไปกับ Gerstmann’s syndrome
            4.5 Global aphasia หมายถึง ผู้ที่ไม่เข้าใจทั้งภาษาพูด และภาษาเขียน พูดไม่ได้เลย
            4.6 Sensory agraphia หมายถึง ผู้ที่เขียนเองไม่ได้ เขียนตอบคำถามหรือเขียนชื่อวัตถุก็ไม่ได้ มักเกิดร่วมกับ Gerstmann’s syndrome
            4.7 Motor agraphia หมายถึง ผู้ที่ลอกตัวเขียนหรือตัวพิมพ์ไม่ได้ และเขียนตามคำบอกไม่ได้ เพราะมี apraxia ของมือ
            4.8 Cortical alexia (Sensory alexia) หมายถึง ผู้ที่อ่านไม่ออก เพราะไม่เข้าใจภาษา
            4.9 Motor alexia หมายถึง ผู้ที่เห็นตัวเขียนหรือตัวพิมพ์ เข้าใจความหมาย แต่อ่านออกเสียงไม่ได้ 
            4.10 Gerstmann’s syndrome หมายถึง ผู้ที่ไม่รู้ชื่อนิ้ว (finger agnosia) ไม่รู้ซ้ายขวา (allochiria) คำนวณไม่ได้ (acalculia) เขียนไม่ได้ (agraphia) อ่านไม่ออก (alexia)
            4.11 Visual agnosia หมายถึง ผู้ที่มองเห็นวัตถุ แต่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร บางทีบอกชื่อนิ้วตัวเองไม่ได้ (finger agnosia)
            4.12 Auditory agnosia (word deafness) หมายถึง ผู้ที่ไม่มีความบกพร่องทางการได้ยินแต่แปลความหมายของคำหรือประโยคที่ได้ยินไม่เข้าใจ
Mind Mapping : ลักษณะเด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา

2. เมื่ออาจารย์บรรยายเนื้อหาในโปรแกรม Power Point จบ ให้นักศึกษาดูคลิปของคนพิการท่านหนึ่งซึ่งได้ประสบความสำเร็จในชีวิต ด้วยความที่เขาพิการจึงเป็นแรงผลักดันที่ทำให้เขาไม่ย่อท้อและต้องขยันกว่าคนอื่นๆ คลิปวิดีโอนี้จึงเป็นแรงบันดาลใจให้แก่คนที่กำลังหมดหวัง ให้ลุกขึ้นสู้เหมือนกับผู้หญิงท่านนี้
     
3. อาจารย์ให้ตัวแทนนักศึกษา 1 คน ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวิดีโอที่ได้ชมไป

สะท้อนสิ่งที่ได้รับจากการเรียน
            สังคมไม่ควรมองว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษเป็นปัญหาสำหรับสังคม เพราะเด็กเหล่านนี้ไม่ได้ไปทำร้ายคนอื่นหรือสร้างความวุ่นวายให้แก่สังคม เพียงแต่เด็กเหล่านี้ต้องความความช่วยเหลือจากสังคม ถ้าทุกฝ่ายให้ความดูแลเอาใจใส่เหมือนเด็กปกติทั่วไป ดิฉันเชื่อว่าเด็กเหล่านี้จะมีพัฒนาการที่ก้าวหน้าเทียบเท่ากับเด็กปกติก็ได้ แต่สิ่งที่สำคัญในการพัฒนาเด็กเหล่านี้คือ ครอบครัว ที่มีความอบอุ่นและต้องดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี