...แฟ้มสะสมงานในรายวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
Miss Chalanda Khamjun Student ID 5411203044 Junior Field of Early Childhood Education Faculty of Education Chandrakasem Rajabhat University.

บันทึกกิจกรรมการเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 4

วันที่ 28 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556

1. อาจารย์บรรยายเนื้อหา  เด็กที่มีความต้องการพิเศษ”  ต่อจากสัปดาห์ที่ 3 สรุปได้ดังนี้
Mind Mapping : เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behaviorally and Emotional Disorders) หมายถึง ผู้ที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกติเช่นคนปกตินาน ๆ ไม่ได้หรือผู้ที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้ ซึ่งพฤติกรรมที่แสดงออกมานั้นไม่เป็นที่ยอมรับและพอใจของมาตรฐานความประพฤติปฏิบัติของสังคม 
Mind Mapping : ลักษณะเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์


Mind Mapping : เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้หรือเรียกย่อๆ ว่า L.D. (Learning Disability) หมายถึง ผู้ที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง โดยมีความบกพร่องหรือปัญหาหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งอย่าง ในกระบวนการทางจิตวิทยาทำให้เด็กเหล่านี้มีปัญหาทางการใช้ภาษาหรือการพูด การเขียน โดยจะแสดงออกมาในลักษณะของการนำไปปฏิบัติ
Mind Mapping : เด็กออทิสติก
เด็กออทิสติก (Autistic) บางครั้งเรียกว่า ออทิซึ่ม (Autism) หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องอย่างรุนแรงในการสื่อความหมาย พฤติกรรม สังคม และความสามารถทางสติปัญญาในการรับรู้ อาการต่าง ๆ จะมีการเปลี่ยนแปลงไม่แน่นอนเป็นระยะ ๆ ไป เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง และย่อมแตกต่างไปจากเด็กคนอื่น ๆ ซึ่งเป็นเด็กออทิสติกเหมือนกัน ทั้งนี้เป็นเพราะอาการที่เป็นมีความรุนแรงมากน้อยต่างกันไป ประกอบกับเด็กแต่ละคนมีบุคลิกภาพของตัวเองอยู่ด้วย อาการออทิสติกนั้นจะคงอยู่ติดตัวเด็กไปจนเป็นผู้ใหญ่จนตลอดทั้งชีวิต ไม่สามารถรักษาให้หายได้
Mind Mapping : ลักษณะเด็กออทิสติก
เด็กพิการซ้อน (Children with Multiple Handicaps) หมายถึง ผู้ที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก เช่น ปัญญาอ่อนตาบอด ปัญญาอ่อน-ร่างกายพิการ หูหนวก-ตาบอด ฯลฯ 
Mind Mapping : ลักษณะเด็กพิการซ้อน

2. อาจารย์ให้นักศึกษาดูวิดีโอห้องเรียนแรกของเด็กพิเศษ แล้วสรุปใจความสำคัญของเนื้อหาเป็น Mind Mapping งานชิ้นนี้ 10 คะแนน

การประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม
1. การดูแลเด็กพิเศษ เมื่อรับเด็กมาแล้ว ครูต้องมีการประเมินว่าเด็กมีพื้นฐานและพัฒนาการเป็นอย่างไร
2. จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะพื้นฐาน 6 ประการ ให้เด็กพิเศษตามลำดับขั้น คือ พัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก ภาษา สังคม    การช่วยเหลือตนเอง เตรียมวิชาการ
3. ครูทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลเพื่อวางแผนการเรียนรู้
4. การจัดกิจกรรมต้องมีการประเมินผล โดยการสังเกตของครู
ข้อพึงระวังในการนำไปใช้
1. การจัดกิจกรรมต้องมีความยืดหยุ่นระหว่างครูกับผู้ปกครอง
2. ผู้ปกครองมีสิทธิ์ที่จะเลือกไม่ให้นักเรียนทำกิจกรรมที่ผู้ปกครองเห็นว่าไม่เหมาะสม
3. ในการทำกิจกรรมของเด็กพิเศษ ถ้าผู้ใหญ่คิดให้เด็กจะหมดโอกาสคิด

สะท้อนสิ่งที่ได้รับจากการเรียน
            สังคมไม่ควรมองว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษเป็นปัญหาสำหรับสังคม เพราะเด็กเหล่านนี้ไม่ได้ไปทำร้ายคนอื่นหรือสร้างความวุ่นวายให้แก่สังคม เพียงแต่เด็กเหล่านี้ต้องความความช่วยเหลือจากสังคม ถ้าทุกฝ่ายให้ความดูแลเอาใจใส่เหมือนเด็กปกติทั่วไป ดิฉันเชื่อว่าเด็กเหล่านี้จะมีพัฒนาการที่ก้าวหน้าเทียบเท่ากับเด็กปกติก็ได้ แต่สิ่งที่สำคัญในการพัฒนาเด็กเหล่านี้คือ ครอบครัว ที่มีความอบอุ่นและต้องดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น