...แฟ้มสะสมงานในรายวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
Miss Chalanda Khamjun Student ID 5411203044 Junior Field of Early Childhood Education Faculty of Education Chandrakasem Rajabhat University.

บันทึกกิจกรรมการเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 2

วันที่ 14 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556

1. อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 9-10 คน ทำรายงานในหัวข้อดังต่อไปนี้
-                   เด็กซี.พี.  (กลุ่มของดิฉันได้รับหมอบหมาย)
-                   เด็กดาวน์ซินโดม
-                   เด็กออทิสติก
-                   เด็กสมาธิสั้น
-                   เด็กแอลดี
2. อาจารย์บรรยายเนื้อหา  เด็กที่มีความต้องการพิเศษ สรุปได้ดังนี้
ความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
            ทางการแพทย์ เรียกเด็กเหล่านี้ว่า เด็กพิการ ดังนั้นเด็กที่มีความต้องการพิเศษจึงหมายถึง ผู้ที่มีความผิดปกติ ผู้ที่มีความบกพร่องหรือผู้ที่มีการสูญเสียสมรรถภาพอาจเป็นความผิดปกติ  ความบกพร่องทางกายหรือการสูญเสียสมรรถภาพ
            ทางการศึกษา ให้ความหมายว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษ หมายถึง เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องจัดการคือศึกษาให้ต่างไปจากเด็กปกติทางด้านเนื้อหา หลักสูตร กระบวนการที่ใช้และการประเมินผล
            สรุปได้ว่า " เด็กที่มีความต้องการพิเศษ" หมายถึง การมีข้อจำกัดใดๆ หรือการขาดความสามารถอันเป็นผลมาจากการให้การช่วยเหลือและการสอนตามปกติ ทั้งนี้มีสาเหตุจากสภาพความบกพร่องทางร่างกายสติปัญญาและอารมณ์ จำเป็นต้องได้รับการ กระตุ้น ช่วยเหลือ การบำบัด ฟื้นฟูและให้การเรียนการสอนที่เหมาะกับลักษณะและความต้องการของเด็ก
Mind Mapping : เด็กที่มีความต้องการพิเศษ
ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
เด็กบกพร่องทางสติปัญญา (Children with Intellectual Disabilities) หมายถึง เด็กที่มีระดับสติปัญญาหรือเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยเมื่อเทียบเด็กในระดับอายุเดียวกัน มี 2 กลุ่ม คือ
            1. เด็กเรียนช้า มีระดับสติปัญญา (IQ) ประมาณ 71-90
            2. เด็กปัญญาอ่อน เด็กปัญญาอ่อนแบ่งตามระดับสติปัญญา (IQ) ได้ 4 กลุ่ม คือ
                         2.1 เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก มีระดับสติปัญญา (IQ) ต่ำกว่า 20 ลงไป
                         2.2 เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก มีระดับสติปัญญา (IQ) ระหว่าง 20-34
                         2.3 เด็กปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง มีระดับสติปัญญา (IQ) ระหว่าง 35-49 เรียกโดยทั่วไปว่า T.M.R (Trainable Mentally Retarded)
                        2.4 เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย มีระดับสติปัญญา (IQ) ระหว่าง 50-70 เรียกโดยทั่วไปว่า E.M.R (Educable Mentally Retarded)
ลักษณะบางอย่างของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาที่พอสังเกตได้ ดังนี้
 1. พัฒนาการทางร่างกาย ภาษา อารมณ์ และสังคม เช่น การชันคอ การนั่ง การยืน การเดินทำได้ไม่สมกับวัย
 2. ไม่พูดหรือพูดได้ไม่สมวัย
 3. ช่วงความสนใจสั้น วอกแวก 
 4. ขาดความสนใจในสิ่งที่เฉพาะเจาะจง
 5. ความคิดและอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย
 6. อดทนต่อการรอคอยน้อย
 7. ทำงานช้า
 8. ทำอะไรรุนแรง ไม่มีเหตุผล ไม่ถูกกาลเทศะ
 9. ความเข้าใจจากการฟังดีกว่าจากการอ่าน
10. การจำตัวอักษรหรือข้อความน้อยกว่าวัย
11. มักมีปัญหาทางการพูด
12. อวัยวะภายนอกบางส่วนมีรูปร่างผิดปกติ
13. กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
14. ไม่สามารถปรับตัวได้
15. ไม่สามารถช่วยตนเองได้ เมื่อเปรียบเทียบกับวัยเดียวกัน
16. ชอบเล่นกับเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน (Children with Hearing Impaired ) หมายถึง ผู้ที่มีความบกพร่องหรือสูญเสียการได้ยิน มี 2 ประเภท คือ
            1. เด็กหูตึง หมายถึง ผู้ที่สูญเสียการได้ยินถึงขนาดที่ทำให้มีความยากลำบากจนไม่สามารถเข้าใจคำพูด และการสนทนา แต่ไม่ถึงกับหมดโอกาสที่จะเข้าใจภาษาพูดจากการได้ยิน
 จำแนกได้4 กลุ่ม คือ
                        1.1 เด็กหูตึงระดับน้อย มีการได้ยินเฉลี่ยระหว่าง 26-40 เดซิเบล (dB)
                        1.2 เด็กหูตึงระดับปานกลาง มีการได้ยินเฉลี่ยระหว่าง 41-55 เดซิเบล (dB)
                        1.3 เด็กหูตึงระดับมาก มีการได้ยินเฉลี่ยระหว่าง 56-70 เดซิเบล (dB)
                        1.4 เด็กหูตึงระดับรุนแรง มีการได้ยินเฉลี่ยระหว่าง 71-90 เดซิเบล (dB)
            2. เด็กหูหนวก หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยินมาก ถ้าวัดระดับการได้ยินแล้วจะมีการได้ยินตั้งแต่ 91 เดซิเบล (dB) ขึ้นไป
ลักษณะบางอย่างของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินที่พอสังเกตได้ มีดังนี้
1. ไม่ตอบสนองเมื่อเรียก
2. มักตะแคงหูฟัง
3. ไม่พูด มักแสดงท่าทาง
4. พูดไม่ชัด เสียงผิดปกติ
5. พูดไม่ถูกหลักไวยากรณ์
6. พูดมีเสียงแปลก มักเปล่งเสียงสูง
7. พูดด้วยเสียงต่ำหรือด้วยเสียงที่ดังเกินความจำเป็น
8. เวลาฟังมักจะมองปากของผู้พูดหรือจ้องหน้าผู้พูด
9. รู้สึกไวต่อการสั่นสะเทือนและการเคลื่อนไหวรอบตัว
10. ไม่มีปฏิกิริยาต่อเสียงดัง เสียงพูด เสียงดนตรีหรือมีบ้างเป็นบางครั้ง
11. ไม่ชอบร้องเพลง ไม่ชอบฟังนิทาน แต่แสดงการตอบสนองอย่างสม่ำเสมอต่อเสียงดังในระดับที่เด็กได้ยิน
12. มักทำหน้าเด๋อเมื่อมีการพูดด้วย
13. ไม่พูดเมื่อมีสิ่งเร้าใจจากสภาพแวดล้อม
14. ซน ไม่มีสมาธิ
15. ไม่สามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้
16. มีความลำบากในการอ่านหนังสือ
17. ไม่ตอบคำถาม
18. อาจมีปัญหาทางอารมณ์และสังคม 
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น (Children with Visual Impairments Children) หมายถึง ผู้ที่มองไม่เห็นหรือพอเห็นแสง เห็นเลือนลาง จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
             1. เด็กตาบอด หมายถึง เด็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้เลยหรืออาจมองเห็นบ้างไม่มากนัก
             2. เด็กตาบอดไม่สนิทหรือบอดบางส่วน สายตาเลือนลาง หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่อง
ลักษณะบางอย่างของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นที่พอสังเกตได้ มีดังนี้
1. เดินงุ่มง่าม ชนและสะดุดวัตถุ
2. ไม่สนใจในสิ่งที่ต้องใช้สายตา เช่น การเล่นซ่อนหา
3. มองเห็นสีผิดไปจากปกติ
4. มักบ่นว่าปวดศีรษะ คลื่นไส้ ตาลาย คันตา มองเห็นเลือนลาง
5. ก้มศีรษะชิดกับงานหรือของเล่นที่วางอยู่ตรงหน้า
6. ขาดความสนใจ เหม่อลอย
7. เพ่งตา หรี่ตาหรือปิดตาข้างหนึ่งเมื่อใช้สายตา
8. ตาและมือไม่สัมพันธ์กัน
9. ลำบากในเรื่องการใช้บันได ใส่กระดุม ผูกเชือกรองเท้า อ่านและเขียนหนังสือ
10. มีความลำบากในการจำและแยกแยะสิ่งที่เป็นรูปร่างทางเรขาคณิต

อ้างอิงจาก : ความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

สะท้อนสิ่งที่ได้รับจากการเรียน
            สังคมไม่ควรมองว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษเป็นปัญหาสำหรับสังคม เพราะเด็กเหล่านนี้ไม่ได้ไปทำร้ายคนอื่นหรือสร้างความวุ่นวายให้แก่สังคม เพียงแต่เด็กเหล่านี้ต้องความความช่วยเหลือจากสังคม ถ้าทุกฝ่ายให้ความดูแลเอาใจใส่เหมือนเด็กปกติทั่วไป ดิฉันเชื่อว่าเด็กเหล่านี้จะมีพัฒนาการที่ก้าวหน้าเทียบเท่ากับเด็กปกติก็ได้ แต่สิ่งที่สำคัญในการพัฒนาเด็กเหล่านี้คือ ครอบครัว ที่มีความอบอุ่นและต้องดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น