...แฟ้มสะสมงานในรายวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
Miss Chalanda Khamjun Student ID 5411203044 Junior Field of Early Childhood Education Faculty of Education Chandrakasem Rajabhat University.

บันทึกกิจกรรมการเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 3

วันที่ 21 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556

1. อาจารย์บรรยายเนื้อหา  เด็กที่มีความต้องการพิเศษ”  ต่อจากสัปดาห์ที่ 2 สรุปได้ดังนี้
Mind Mapping : เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ (Children with Physical and Health Impairments) หมายถึง ผู้ที่มีอวัยวะไม่สมส่วน อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนหายไป กระดูกกล้ามเนื้อพิการ เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรงหรือเฉียบพลัน มีความพิการทางระบบประสาทสมอง มีความลำบากในการเคลื่อนไหวจนเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาเล่าเรียนและการทำกิจกรรมของเด็ก จำแนกได้ดังนี้
1. อาการบกพร่องทางร่างกาย ที่มักพบบ่อย ได้แก่
            1.1 ซีพีหรือซีรีบรัล พัลซี่ (C.P. : Cerebral Palsy) มีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่าง ๆ ของสมองแตกต่างกัน ที่พบส่วนใหญ่ คือ
                        1.1.1 อัมพาตเกร็งของแขนขาหรือครึ่งซีก (Spastic)
                        1.1.2 อัมพาตของลีลาการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Athetoid)  
                        1.1.3 อัมพาตสูญเสียการทรงตัว (Ataxia)
                        1.1.4 อัมพาตตึงแข็ง (Rigid)
                        1.1.5 อัมพาตแบบผสม (Mixed)
            1.2 กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy) เกิดจากประสาทสมองที่ควบคุมส่วนของกล้ามเนื้อส่วนนั้น ๆ เสื่อมสลายตัว 
            1.3 โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic) ที่พบบ่อย ได้แก่
                        1.3.1 ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก (Club Foot) กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด (Spina Bifida)
                         1.3.2 ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ (Infection) เช่น วัณโรค กระดูก หลังโกง กระดูกผุ เป็นแผลเรื้อรังมีหนอง
                         1.3.3 กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ มีความพิการเนื่องจากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง หรือทันท่วงทีภายหลังได้รับบาดเจ็บ
            1.4 โปลิโอ (Poliomyelitis) เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งเข้าสู่ร่างกายทางปาก แล้วไปเจริญที่ต่อมน้ำเหลืองในลำคอ ลำไส้เล็ก และเข้าสู่กระแสเลือดจนถึงระบบประสาทส่วนกลาง 
            1.5 แขนขาด้วนแต่กำเนิด (Limb Deficiency)
            1.6 โรคกระดูกอ่อน (Osteogenesis Imperfeta)
 2. ความบกพร่องทางสุขภาพ ที่มักพบบ่อย ได้แก่
            2.1 โรคลมชัก (Epilepsy) เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมอง ที่พบบ่อยมีดังนี้ คือ
                        2.1.1 ลมบ้าหมู (Grand Mal)  
                        2.1.2 การชักในช่วงเวลาสั้น ๆ (Petit Mal) ระยะเวลาสั้น ๆ 5-10 วินาที
                        2.1.3 การชักแบบรุนแรง (Grand Mal) เกิดขึ้นราว 2-5 นาทีจากนั้นจะหาย และนอนหลับไปชั่วครู่
                        2.1.4 อาการชักแบบพาร์ชัล คอมเพล็กซ์ (Partial Complex)
                        2.1.5 อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial) ทำอะไรบางอย่างโดยที่ตัวเองไม่รู้  
            2.2 โรคระบบทางเดินหายใจโดยมีอาการเรื้อรังของโรคปอด (Asthma) เช่น หอบหืด วัณโรค ปอดบวม ซึ่งมีทั้งที่มีอาการรุนแรงหรือที่เป็นระยะยาวจนเกิดโรคแทรกซ้อน ปอดแฟบ 
            2.3 โรคเบาหวานในเด็ก ร่างกายไม่สามารถใช้กลูโคสได้อย่างปกติ เพราะขาดอินซูลิน
            2.4 โรคข้ออักเสบรูมาตอย มีอาการปวดตามข้อเข่า ข้อเท้า ข้อศอก ข้อนิ้วมือ
            2.5 โรคศีรษะโต เนื่องจากน้ำคั่งในสมอง
            2.6 โรคหัวใจ (Cardiac Conditions)
            2.7 โรคมะเร็ง (Cancer)
            2.8 บาดเจ็บแล้วเลือดไหลไม่หยุด (Hemophilia)
Mind Mapping : ลักษณะเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ

Mind Mapping เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา (Children with Speech and Language Disorders) หมายถึง ผู้ที่พูดไม่ชัด และลีลาจังหวะการพูดผิดปกติ ออกเสียงผิดเพี้ยน อวัยวะที่ใช้ในการพูดไม่สามารถเป็นไปตามลำดับขั้นการใช้อวัยวะเพื่อการพูดไม่เป็นไปดังตั้งใจ จำแนกได้ดังนี้ คือ
1. ความผิดปกติด้านการออกเสียง
            1.1 ออกเสียงผิดเพี้ยนไปจากมาตรฐานของภาษาเดิม
            1.2 เพิ่มหน่วยเสียงเข้าในคำโดยไม่จำเป็น
            1.3 เอาเสียงหนึ่งมาแทนอีกเสียงหนึ่ง เช่น กวาด-ฟาด
2. ความผิดปกติด้านจังหวะเวลาของการพูด เช่น การพูดรัว การพูดติดอ่าง
3. ความผิดปกติด้านเสียง
            3.1 ระดับเสียง เช่น การพูดเสียงสูงเกินไป ต่ำเกินไปหรือพูดระดับเสียงเดียวกันหมด
            3.2 ความดัง เช่น พูดเสียงดังมาก หรือเบามากจนเกินไป
            3.3 คุณภาพของเสียง เช่น พูดเสียงแตกพร่า เสียงแหบ เสียงหอบ เสียงขึ้นจมูก เสียแปร่ง 
4. ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่า Dysphasia หรือ aphasia ที่ควรรู้จัก ได้แก่
            4.1 Motor aphasia (Expressive หรือ Broca’s apasia) หมายถึง ผู้ที่เข้าใจคำถามหรือคำสั่ง แต่พูดไม่ได้ ออกเสียงลำบาก พูดช้า ๆ พอพูดตามได้บ้างเล็กน้อย บอกชื่อสิ่งของพอได้ แต่พูดไม่ถูกไวยากรณ์
            4.2 Wernicke’s aphasia (Sensory หรือ Receptive aphasia) หมายถึง ผู้ที่ไม่เข้าใจคำถามหรือคำสั่ง ได้ยินแต่ไม่เข้าใจความหมาย 
            4.3 Conduction aphasia หมายถึง ผู้ที่ออกเสียงได้ไม่ติดขัด เข้าใจคำถามดี แต่พูดตามหรือบอกชื่อสิ่งของไม่ได้ มักเกิดร่วมไปกับอัมพาตของร่างกายซีกขวา
            4.4 Nominal aphasia (Anomic aphasia) หมายถึง ผู้ที่ออกเสียงได้ เข้าใจคำถามดี พูดตามได้ แต่บอกชื่อวัตถุไม่ได้เพราะลืมชื่อ บางทีก็ไม่เข้าใจความหมายของคำมักเกิดร่วมไปกับ Gerstmann’s syndrome
            4.5 Global aphasia หมายถึง ผู้ที่ไม่เข้าใจทั้งภาษาพูด และภาษาเขียน พูดไม่ได้เลย
            4.6 Sensory agraphia หมายถึง ผู้ที่เขียนเองไม่ได้ เขียนตอบคำถามหรือเขียนชื่อวัตถุก็ไม่ได้ มักเกิดร่วมกับ Gerstmann’s syndrome
            4.7 Motor agraphia หมายถึง ผู้ที่ลอกตัวเขียนหรือตัวพิมพ์ไม่ได้ และเขียนตามคำบอกไม่ได้ เพราะมี apraxia ของมือ
            4.8 Cortical alexia (Sensory alexia) หมายถึง ผู้ที่อ่านไม่ออก เพราะไม่เข้าใจภาษา
            4.9 Motor alexia หมายถึง ผู้ที่เห็นตัวเขียนหรือตัวพิมพ์ เข้าใจความหมาย แต่อ่านออกเสียงไม่ได้ 
            4.10 Gerstmann’s syndrome หมายถึง ผู้ที่ไม่รู้ชื่อนิ้ว (finger agnosia) ไม่รู้ซ้ายขวา (allochiria) คำนวณไม่ได้ (acalculia) เขียนไม่ได้ (agraphia) อ่านไม่ออก (alexia)
            4.11 Visual agnosia หมายถึง ผู้ที่มองเห็นวัตถุ แต่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร บางทีบอกชื่อนิ้วตัวเองไม่ได้ (finger agnosia)
            4.12 Auditory agnosia (word deafness) หมายถึง ผู้ที่ไม่มีความบกพร่องทางการได้ยินแต่แปลความหมายของคำหรือประโยคที่ได้ยินไม่เข้าใจ
Mind Mapping : ลักษณะเด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา

2. เมื่ออาจารย์บรรยายเนื้อหาในโปรแกรม Power Point จบ ให้นักศึกษาดูคลิปของคนพิการท่านหนึ่งซึ่งได้ประสบความสำเร็จในชีวิต ด้วยความที่เขาพิการจึงเป็นแรงผลักดันที่ทำให้เขาไม่ย่อท้อและต้องขยันกว่าคนอื่นๆ คลิปวิดีโอนี้จึงเป็นแรงบันดาลใจให้แก่คนที่กำลังหมดหวัง ให้ลุกขึ้นสู้เหมือนกับผู้หญิงท่านนี้
     
3. อาจารย์ให้ตัวแทนนักศึกษา 1 คน ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวิดีโอที่ได้ชมไป

สะท้อนสิ่งที่ได้รับจากการเรียน
            สังคมไม่ควรมองว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษเป็นปัญหาสำหรับสังคม เพราะเด็กเหล่านนี้ไม่ได้ไปทำร้ายคนอื่นหรือสร้างความวุ่นวายให้แก่สังคม เพียงแต่เด็กเหล่านี้ต้องความความช่วยเหลือจากสังคม ถ้าทุกฝ่ายให้ความดูแลเอาใจใส่เหมือนเด็กปกติทั่วไป ดิฉันเชื่อว่าเด็กเหล่านี้จะมีพัฒนาการที่ก้าวหน้าเทียบเท่ากับเด็กปกติก็ได้ แต่สิ่งที่สำคัญในการพัฒนาเด็กเหล่านี้คือ ครอบครัว ที่มีความอบอุ่นและต้องดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น